รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

6 กระบวนหลัก

เป็นกระบวนการหลัก (Core Process) เพื่อนำไปดำเนินการในกลยุทธ์ ดำเนินในโครงการ และดำเนินการในกิจกรรม กระบวนการหลักมีวงจรการดำเนินการ 6 ขั้น ดังนี้

1. Goal Setting การกำหนดเป้าหมาย โดยโรงเรียนเลือกใช้การกำหนดเป้าหมายแบบ OKRs ที่เป็นการกำหนดเป้าหมายเป็นวัตถุประสงค์และผลลัพธ์สำคัญตามเป้าหมาย

2. Planning การวางแผน เป็นการกำหนดแผนการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

3. Formulation การเตรียมการก่อนการดำเนินการ เตรียมคณะทำงาน เป็นการดำเนินการส่วนของการเตรียมความพร้อมต่าง ๆ เช่น การจัดเตรียมสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป

4. Implementation การปฏิบัติดำเนินการ ตามที่ได้วางแผนและเตรียมการไว้ เพื่อให้บรรลุผล/สำเร็จตามเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

5. Follow up and Assessment การกำกับ ติดตาม นิเทศก์ การดำเนินการต่าง ๆ และการประเมินผลการดำเนินการ

6. Conclusion การสรุปงาน การนำผลประเมิน ผลการดำเนินการ ผลการกำกับติดตาม มาสรุปหาจุดสำเร็จ จุดเด่น จุดด้อย เพื่อนำผลที่ได้จากการสรุปงานนี้ ไปดำเนินการในคราวหน้าให้สำเร็จอย่างมีสัมฤทธิผลต่อไป


6 กลยุทธ์

เป็นกระบวนการหลักในการดำเนินการพัฒนา เมื่อการดำเนินการตามกลยุทธ์มีความสำเร็จ ก็จะส่งผลให้กลยุทธ์อื่นได้ดำเนินการสำเร็จไปด้วย และเมื่อโรงเรียนดำเนินการตามกลยุทธ์สำเร็จทุกกลยุทธ์ ก็จะทำให้โรงเรียนมีความสำเร็จ มีสัมฤทธิผลตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนต่อไป รายละเอียดเป็นดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

พัฒนาให้โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่สนองความต้องการของโรงเรียน ชุมชนและท้องถิ่นได้ มีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และคุณภาพผู้เรียน

พัฒนาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามหลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาชาติ

กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนากระบวนการบริหารและจัดการโรงเรียนคุณภาพ

พัฒนาให้โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีระบบประกันคุณภาพภายใน ระบบการกำกับ นิเทศ ติดตามผล มีธรรมาภิบาล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ

กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาครูและบุคลากร

พัฒนาให้ครูและบุคลากรมีความรู้และทักษะ ในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ครูผู้สอนมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้

กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ บริบท แวดล้อม เทคโนโลยีการศึกษา

พัฒนาให้โรงเรียนแหล่งเรียนรู้ บริบท สภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้สะอาด ร่มรื่น มีความปลอดภัย ทันสมัย แหล่งเรียนรู้ทีหลากหลาย ครบตามความต้องการของหลักสูตรสถานศึกษา มีเทคโนโลยีการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน

กลยุทธ์ที่ 6 การประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนและโรงเรียนเครือข่าย

ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ประสานโรงเรียนเครือข่าย มีการกำหนดแผนการรับนักเรียน ประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในการพัฒนาให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนคุณภาพชั้นนำ ต่อไป

6 จุดเน้น

การพัฒนาของโรงเรียนจะเน้นการพัฒนายึดกลยุทธ์เป็นสำคัญ เพื่อส่งผลต่อคุณภาพโดยรวมต่อผู้เรียนแต่ก็มีประเด็นสำคัญที่โรงเรียนต้องดำเนินการเพื่อสนองตอบความต้องการของชุมชนที่ได้ดำเนินการ Focus Group ของคณะ ก.ต.ป.น. เขตพื้นที่การศึกษา สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 และสนองนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ความพร้อม ความถนัดของโรงเรียน เพื่อแสดงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของโรงเรียนบ้านภูมซรอลต่อไป ดังนี้

1. วัฒนธรรม/ท้องถิ่น คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนและท้องถิ่น ให้มีการกำหนดหลักสูตรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักสูตรเรียนรู้ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทโดนตรวจ ผามออีแดง

2. โรงเรียนสองภาษา คือ การให้ผู้เรียนได้พัฒนา เรียนรู้ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร คือ ภาษาเขมรและภาษาอังฤษ กำหนดให้มีหลักสูตรภาษาเขมร ให้ชุมชน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะภาษา

3. ทักษะอาชีพ คือ การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะอาชีพ เรียนรู้อาชีพในชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง ภูมิปัญญาและปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเสริมให้ผู้เรียนในการประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป

4. พหุปัญญา ความถนัด คือ การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามความถนัด ความชอบของตนเอง ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนตามพหุปัญญา เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล

5. เทคโนโลยีดิจิทัลและการ Coding คือ การพัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ การรู้เท่าทันโลก มีทักษะในการคิด การมีวิจารณญาณ และเรียนรู้วิทยาการคำนวณ การ Coding มีทักษะในศตวรรษที่ 21

6. นวัตกรรมครูและผู้เรียน คือ การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนานวัตกรรม ผ่านการสร้างชิ้นงาน โครงงาน บูรณาการร่วมกับสาระวิชาและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น ให้ครูผู้สอนมีนวัตกรรมการพัฒนาผู้เรียน มีการวิจัยชั้นเรียน กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

คุณภาพ

เมื่อโรงเรียนได้ดำเนินการตามกลยุทธ์ และจุดเน้น ที่ขับเคลื่อนด้วยกระบวนหลัก (Core Process) ก็จะทำให้โรงเรียนมีสัมฤทธิผลตาม “วิสัยทัศน์” ของโรงเรียน ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ดังนี้

คุณภาพผู้เรียน ตามหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรปฐมวัย หลักสูตรฐานสมรรถนะ

คุณภาพครูและบุคลากร ตามมาตรฐานวิชาชีพ

คุณภาพโรงเรียน ตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน